ปัจจุบันการผลิตกาว สี สารเคลือบ และวัสดุผสมต่างๆนั้นมีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ผู้ผลิตหลายรายพัฒนาได้ผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้นโดยใช้วัสดุและเทคนิคที่ทันสมัยเพื่อกระบวนการที่มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มทุนมากขึ้น ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความแข็งแรง มีน้ำหนักเบา และเป็นที่เชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งในขณะนี้ได้มีการใช้สารเคลือบซิลิโคนเพื่อผนึกพื้นผิวที่สำคัญแทนการใช้ปะเก็น เช่น ฝาครอบวาล์วและอ่างน้ำมันหล่อลื่นกับบล็อกเครื่องยนต์ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าของวัสดุเชิงประกอบยังเปลี่ยนแปลงวิธีการออกแบบเครื่องบินและวิธีการสร้างเครื่องบินในอุตสาหกรรมการบินอีกด้วย ผู้ผลิตได้คิดค้นผนึกชิ้นส่วนวัสดุเชิงประกอบและวัสดุอื่นๆ เข้าด้วยกัน แทนขั้นตอนการเชื่อมโลหะเข้ากับหมุดย้ำและตัวยึดเชิงกล เพื่อโครงสร้างที่แข็งแรง น้ำหนักเบา และมีประสิทธิภาพสูง ส่วนการใช้งานทางการแพทย์นั้นได้มีการพัฒนาการเคลือบผิวขั้นสูงแก่เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งสารเคลือบเหล่านี้เป็นสารที่มีความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยและเพื่อความสะดวกสบายของผู้ป่วย
ในอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์ มีการใช้ซอฟต์แวร์และอิเล็กทรอนิกส์เพื่อควบคุมกระบวนการและการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูงได้เติบโตขึ้นในอัตราเกือบเท่าทวีคูณ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องพึ่งพาการผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในยึดเกาะของวัสดุและการเคลือบตามรูปแบบมาตรฐาน รวมถึง การเคลือบแบบ hydrophobic และการเคลือบแบบ oleophobic เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันการกัดกร่อน การเติบโตของเชื้อรา และไฟฟ้าลัดวงจร เป็นต้น นอกจากนี้ ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ยังเป็นส่วนสำคัญของความพยายามทางการตลาดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ความท้าทายในการผลิตกาวในปัจจุบันจึงเกิดขึ้นจากความก้าวหน้าในด้านโพลีเมอร์ หมึกพิมพ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ และอุปกรณ์บรรจุภัณฑ์ ซึ่งความมั่นใจในกระบวนการยึดเกาะของผลิตภัณฑ์กาวเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการผลิตทั้งหมด อย่างไรก็ตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยการใช้วัสดุขั้นสูงหรือการพัฒนาสินค้าใหม่อาจไม่สามารถออกสู่ตลาดได้ หากขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยึดเกาะของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเช่น
- ผู้ผลิตไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับการยึดเกาะของวัสดุ จึงไม่สามารถใช้วัสดุเชิงประกอบขั้นสูงได้
- ผู้ผลิตไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าการเคลือบวัสดุสามารถใช้งานได้ เช่น การเคลือบวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาจให้ทำไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้งานได้
- ความล้มเหลวในการยึดเกาะของวัสดุจำเป็นต้องได้รับการจัดการเพื่อยับยั้งกระบวนการผลิต
- ความล้มเหลวของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจักรกล ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนในรถยนต์ เครื่องบิน หรือในโรงงานอุตสาหกรรม อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับอันตรายและเสียชีวิตได้
- ผู้ใช้งานต่างเคยประสบปัญหาเรื่องการยึดเกาะของวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นสีลอก การหลุดลอกของชิ้นส่วนที่ติดกาว การหลุดลอกของกระดานอิเล็กทรอนิกส์ หมึกเลอะจากบรรจุภัณฑ์ ฝ้าไฟหน้าเนื่องจากความชื้น ฉลากลอก ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพต่ำกว่ามาตรฐานเนื่องจากการเคลือบไม่เรียบ และอื่นๆ เป็นต้น
· การใช้งานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ต้องอาศัยการควบคุมกระบวนการยึดเกาะของวัสดุแบบองค์รวม เพื่อให้ได้การผลิตที่มีคุณภาพ โดยสิ่งสำคัญคือ ต้องตระหนักว่า เราไม่สามารถจัดการในสิ่งที่เราไม่สามารถประเมินได้อย่างถูกต้อง
ปัจจัยที่มีผลต่อการยึดเกาะของวัสดุ หรือการเคลือบที่ไร้คุณภาพ มีสาเหตุหลัก 7 ประการ ดังต่อไปนี้
ประการแรก เนื่องจากการยึดเกาะที่เหมาะสม จะเกิดขึ้นที่ระดับโมเลกุลสองสามตัวแรกเท่านั้น ดังนั้นคุณภาพของพื้นผิวใดๆ มักจะไม่สามารถตัดสินด้วยตามนุษย์ได้
ประการที่สอง ชิ้นส่วนต่างๆ ต้องเผชิญกับมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมขณะเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตสินค้าไปยังโรงงานผลิต ซึ่งอาจส่งผลต่อการยึดเกาะของวัสดุได้
ประการที่สาม สภาพพื้นผิวของวัสดุอาจเปลี่ยนไปตามอายุและสภาพแวดล้อมตามสถานที่จัดเก็บของวัสดุนั้นๆ
ประการที่สี่ ชิ้นส่วนต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ อาจมาจากแหล่งต่างๆ และอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน ประการที่ห้า กระบวนการทำความสะอาดวัสดุของผู้ขายรายหนึ่งๆ อาจไม่เพียงพอในการทำความสะอาดวัสดุจากผู้ขายรายอื่น
ประการที่หก บุคคลทั่วไปไม่ทราบว่าพื้นผิวที่บอบบางนั้นสามารถดึงดูดมลภาวะที่ส่งผลต่อการยึดเกาะของวัสดุได้ ซึ่งเป็นการยากที่จะบอกว่าวัสดุนั้นนั้นปราศจากมลภาวะหรือไม่ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือควรทราบว่าพื้นผิวนั้นสะอาดปราศจากสารเคมีเจือปน การจัดการที่ไม่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงในอุปกรณ์ทำความสะอาดหรือระเบียบการต่างๆ สารปนเปื้อนที่ถ่ายโอนจากกระบวนการผลิตอื่น บรรจุภัณฑ์ ระบบการขนส่ง และปัจจัยอื่นๆ อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนสู่พื้นผิวได้
โดยเฉพาะ หลักเกณฑ์ด้านความสะอาดของวัสดุจำนวนมาก ที่ระบุถึงความสะอาดของสิ่งเจือปนที่เป็นอนุภาค แต่ละเลยสิ่งเจือปนที่เป็นสารเคมีในพื้นผิวของวัสดุ
- สุดท้าย เนื่องจากการยึดเกาะของวัสดุ เป็นสิ่งที่เป็นความรับผิดชอบและได้รับผลกระทบจากคุณภาพของวัสดุจากผู้ขาย การตรวจรับ การตัดเฉือนชิ้นส่วน การล้างชิ้นส่วน การขัด การปิดผนึก และการประกอบ ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนี้ มีผลต่อสภาพพื้นผิวในกระบวนการยึดเกาะของวัสดุ
การยึดเกาะของวัสดุต้องการการควบคุมคุณภาพที่แม่นยำใน 3 ปัจจัย ดังนี้
จากความพยายามในการแก้ปัญหาอย่างถาวร ผู้ผลิตทั้งหลายก็ไม่สามารถบรรลุโครงสร้างของการยึดเกาะที่น่าเชื่อถือได้ โดยสาเหตุหลักของความล้มเหลวมักถูกมองข้าม และปัญหาอาจดูเหมือนได้รับการแก้ไขในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะปรากฏขึ้นอีกครั้งโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้นเพื่อให้ได้การยึดเกาะของวัสดุที่สม่ำเสมอและคาดคะเนได้ จึงควรควบคุมปัจจัยทั้งสามประการต่อไปนี้
ประการแรก คือปัจจัยส่วนประกอบของกาวหรือสารเคลือบ
ประการที่สองคือ การใช้งานและการทำให้แห้งของกาวหรือสารเคลือบ
ประการที่สามคือ คุณสมบัติของชั้นโมเลกุลของพื้นผิวที่มีการติดกาวหรือสารเคลือบ เช่น การเตรียมพื้นผิว
เพื่อปรับปรุงองค์ประกอบ ผู้ผลิตกาวได้กำหนดการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดยิ่งขึ้นสำหรับสูตรและกระบวนการผลิต และรับรองว่าการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์โดยดำเนินการอย่างได้มาตรฐาน เป็นผลให้ผู้ผลิตกาวที่มีชื่อเสียงมีความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์กาว
ในทำนองเดียวกัน เมื่อพูดถึงปัจจัยที่สอง ผู้ผลิตมีเครื่องมือที่หลากหลายสำหรับการทำสี ยาแนว สารเคลือบ และกาวอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ผู้ผลิตกาวสามารถกำหนดเทคนิคการบ่มกาวอย่างละเอียดได้
สุดท้ายนี้ การควบคุมคุณภาพของพื้นผิวอย่างละเอียดในขณะที่กระบวนการยึดเกาะยังคงดำเนินต่อไป เป็นสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับผู้ผลิตในการทำความเข้าใจและควบคุมคุณภาพ โดยปัจจัยทั้งสามที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตมีความเข้าใจและมีการจัดการได้น้อยที่สุด จึงเป็นที่มาของปัญหาบ่อยครั้ง
การควบคุมพื้นผิวเป็นสิ่งที่ท้าทายเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ ดังนั้นการควบคุมภาพของชั้นโมเลกุลสองสามชั้นในส่วนบนสุดของพื้นผิวที่ได้รับกาวหรือสารเคลือบจึงเป็นสิ่งมีความสำคัญที่สุดในการจัดการกระบวนการยึดเกาะ
บทสรุป
ปัญหาเกี่ยวการยึดเกาะของวัสดุนั้นมีความซับซ้อนและจำเป็นต้องมีการควบคุมคุณภาพ ความเสียหายของผลิตภัณฑ์ การแก้ไขงานใหม่ การคืนสินค้า การเคลมการรับประกัน การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ และความล่าช้าในการผลิตเป็นต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความล้มเหลวในการยึดเกาะของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงอยู่มากมาย เนื่องจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้ควรนำมาพิจารณาในต้นทุนมาตรฐานและค่าการรับประกันสินค้าด้วย สุดท้ายนี้ ผลลัพธ์ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานคือต้นทุนสูงสุด ซึ่งรวมถึงการสูญเสียความไว้วางใจและรายได้จากลูกค้า เหนือสิ่งอื่นใด ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการยึดเกาะของวัสดุต้องได้รับการควบคุมคุณภาพและใช้งานอย่างเหมาะสมในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้มั่นใจได้ในคุณภาพของผลิตภัณฑ์